หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 9 การวิเคราะห์ข้อมูลแรสเตอร์

กำหนดประเด็นปัญหา
เป็นการกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการหาคำตอบหรือวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ ซึ่งมีขั้นตอนหลักในการวิเคราะห์ปัญหาดังนี้

      1. การกำหนดปัจจัยในการวิเคราะห์ เป็นการกำหนดตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องทราบคำตอบแต่ละประเด็น จะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดรายละเอียดของตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือที่จะใช้ในการวิเคราะห์ว่ามีอะไรบ้าง
      2. การเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ เป็นการเตรียมรายละเอียดข้อมูลตามตัวแปรหรือเงื่อนไขที่กำหนด
      3. การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวางแผนกำหนดแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคำสั่งทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์ด้วยการซ้อมทับข้อมูลในรูปแบบต่างๆและเมื่อกำหนดแนวทางได้แล้วก็เริ่มประมวลผลข้อมูล

ทั้งนี้ในการวิเคราะห์พื้นที่ควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญถึงปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์ การแบ่งประเภทปัจจัย รวมถึงการให้ค่าถ่วงน้ำหนักปัจจัยและค่าคะแนนของประเภทข้อมูล ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมสำหรับการสร้างที่ฝังกลบขยะ



ก่อนการวิเคราะห์พื้นที่ควรวางแผนแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลคร่าว ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมสำหรับการสร้างที่ฝังกลบขยะ

ขั้นตอนการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลแรสเตอร์
ประมาณค่าหาความลาดชันของพื้นที่ในช่วงรูปแบบ Inverse Distance Weighted ( IDW)  ระยะขนาดเซลล์ผลลัพธ์เท่ากับ 40และตั้งชื่อ Idw_elv
  • นำเข้าข้อมูล Chon_elv.shp และ Chon_pro.shp จาก C:\RTArcGIS\LandFill
  • เปิดหน้าต่าง ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิก 3D Analyst Tool > Raster Interpolation > IDW
  • หน้าต่าง IDW กำหนดการประมาณค่า ดังภาพ
  • กำหนดขอบเขตผลลัพธ์การประมาณค่าในช่วงให้มีขอบเขตตามชั้นข้อมูลพื้นที่ศึกษา โดยคลิกปุ่ม Environments คลิก Processing Extent ที่ Extent  เลือกชั้นข้อมูล Same as layer Chon_pro และคลิก Raster Analysis ที่ Mask เลือกชั้นข้อมูล Chon_pro และคลิกปุ่ม OK
  • เมื่อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ พร้อมแล้วคลิกปุ่ม OK


วิเคราะห์พื้นที่หาความลาดชัน
  • ดับเบิ้ลคลิก Spatial Analyst Tool > Surface > Slope
  • หน้าต่าง Slope กำหนดค่าดังภาพ ตั้งชื่อ Slope และคลิกปุ่ม OK ผลลัพธ์จะได้ชั้นข้อมูล Slope  ที่มีขนาดเซลล์เท่ากับชั้นข้อมูล DEM ที่กำหนด



การจัดกลุ่มข้อมูล Slope ใหม่  (Reclassify)


นำข้อมูลแรสเตอร์ที่นำเข้ามาจัดค่าคะแนนและค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละตัวแปรความลาดชันในทางค่าสถิติที่ถูกต้องและตั้งชื่อ Slo_Re
  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน Spatial Analyst Tool > Reclass  >  Reclassify
  • หน้าต่าง Reclassify กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม ok





  • เมื่อนำข้อมูล ให้คลิกคำสั่ง Classify ที่จะรูปแบบตารางสถิติ คุณลักษณะของกราฟ






การสอบถามข้อมูลลักษณะชั้นหินฐาน
กำหนดชั้นข้อมูลตัวแปรตามตาราง


การสร้างและลบฟิลด์
  • เปิดตารางข้อมูล Chon_geo โดยคลิกขวาบนชั้นข้อมูลเลือก Open Attribute Table
  • การลบฟิลด์ โดยคลิกขวาบนฟิลด์ที่ต้องการลบ จากนั้นเลือกคำสั่ง Delete Field
  • สร้างฟิลด์ใหม่ โดยคลิกปุ่ม Table Options > Add Field ให้ตั้งชื่อฟิลด์เป็น Class เพื่อรองรับค่าพื้นที่ในหน่วยไร่ กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK

การแสดงผลเฉพาะข้อมูลที่เลือกและคำนวณค่าในฟิลด์
  • คลิก Select By Attributes
  • กำหนดเงื่อนไข “ DESC_T1” = ‘ ชั้นข้อมูล ‘ OR  “ DESC_T1” = ‘ ชั้นข้อมูล
  • คลิกขวาบนฟิลด์ Chon_geo เลือก Field Calculator
  • หน้าต่าง Field Calculator สามารถเลือกการแสดงผลชื่อฟิลด์ได้ที่ปุ่ม   หรือคลิกขวาในช่องแสดงรายการฟิลด์เพื่อเรียกใช้งาน ให้เลือก Sort Ascending สังเกตค่าในรายการจะเรียงลำดับตามตัวอักษรจาก A – Z ช่วยทำให้หาชื่อฟิลด์ได้ง่ายขึ้น
  • ในช่องใหญ่ ให้ใส่หมายเลขค่าคะแนน แล้วคลิกปุ่ม OK


การเปลี่ยนชั้นข้อมูลจากข้อมูลโพลิกอนไปยังข้อมูลแรสเตอร์

  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน Conversion Tool > To Raster > Polygon to Raster
  • หน้าต่าง Polygon to Raster กำหนดค่าดังภาพ ตั้งชื่อ geo_re และคลิกปุ่ม ok

  • กำหนดขอบเขตผลลัพธ์การประมาณค่าในช่วงให้มีขอบเขตตามชั้นข้อมูลพื้นที่ศึกษา โดยคลิกปุ่ม Environments คลิก Processing Extent ที่ Extent  เลือกชั้นข้อมูล Same as layer Chon_pro และคลิก Raster Analysis ที่ Mask เลือกชั้นข้อมูล Chon_pro และคลิกปุ่ม OK

  • เมื่อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ พร้อมแล้วคลิกปุ่ม OK


หาระยะทางของเส้นทางถนน
  • นำเข้าข้อมูล Chon_Tran  จาก C:\RTArcGIS\LandFill
  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน  Spatial Analyst Tool > Distance > Euclidean Distance
  • หน้าต่าง Euclidean Distance กำหนดค่าดังภาพ ตั้งชื่อ tran1 และคลิกปุ่ม ok
  • กำหนดขอบเขตผลลัพธ์การประมาณค่าในช่วงให้มีขอบเขตตามชั้นข้อมูลพื้นที่ศึกษา โดยคลิกปุ่ม Environments คลิก Processing Extent ที่ Extent  เลือกชั้นข้อมูล Same as layer Chon_pro และคลิก Raster Analysis ที่ Mask เลือกชั้นข้อมูล Chon_pro และคลิกปุ่ม OK

  • เมื่อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ พร้อมแล้วคลิกปุ่ม OK


การจัดกลุ่มข้อมูล Tran1 ใหม่  (Reclassify)


นำข้อมูลแรสเตอร์ที่นำเข้ามาจัดค่าคะแนนและค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละตัวแปรระยะห่างของถนนในทางค่าสถิติที่ถูกต้องและตั้งชื่อ tranre

  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน Spatial Analyst Tool > Reclass  >  Reclassify
  • หน้าต่าง Reclassify กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม ok

  • เมื่อนำข้อมูล ให้คลิกคำสั่ง Classify ที่จะรูปแบบตารางสถิติ คุณลักษณะของกราฟ





หาระยะทางของเส้นทางหมู่บ้านชุมชน
  • นำเข้าข้อมูล Chon_vill  จาก C:\RTArcGIS\LandFill
  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน  Spatial Analyst Tool > Distance > Euclidean Distance
  • หน้าต่าง Euclidean Distance กำหนดค่าดังภาพ ตั้งชื่อ vill และคลิกปุ่ม ok
  • กำหนดขอบเขตผลลัพธ์การประมาณค่าในช่วงให้มีขอบเขตตามชั้นข้อมูลพื้นที่ศึกษา โดยคลิกปุ่ม Environments คลิก Processing Extent ที่ Extent  เลือกชั้นข้อมูล Same as layer Chon_pro และคลิก Raster Analysis ที่ Mask เลือกชั้นข้อมูล Chon_pro และคลิกปุ่ม OK

  • เมื่อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ พร้อมแล้วคลิกปุ่ม OK

การจัดกลุ่มข้อมูล vill  ใหม่  (Reclassify)

นำข้อมูลแรสเตอร์ที่นำเข้ามาจัดค่าคะแนนและค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละตัวแปรระยะห่างของชุมชนในทางค่าสถิติที่ถูกต้องและตั้งชื่อ villre

  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน Spatial Analyst Tool > Reclass  >  Reclassify
  • หน้าต่าง Reclassify กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม ok

  • เมื่อนำข้อมูล ให้คลิกคำสั่ง Classify ที่จะรูปแบบตารางสถิติ คุณลักษณะของกราฟ




การวิเคราะห์ซ้อนทับ (Overlay analysis)


Suitable land fill = W1*S1 + W2*S2 + … + Wn*Sn
  • นำเข้าข้อมูล slo_Re , geo_re , retran และ villre  จาก การจัดกลุ่มข้อมูลใหม่ (Reclassify)
  • ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน  Spatial Analyst Tool >  Map Algebra > Raster  Calculator
  • หน้าต่าง Raster  Calculator  กำหนดค่าดังภาพ ตั้งชื่อ sum และคลิกปุ่ม ok



การจัดกลุ่มข้อมูล sum  ใหม่  (Reclassify)


นำข้อมูลแรสเตอร์ที่นำเข้ามาจัดค่าคะแนนและค่าถ่วงน้ำหนักของการวิเคราะห์ซ้อนทับในทางค่าสถิติที่ถูกต้องและตั้งชื่อ Final  โดยจัดกลุ่มพื้นที่เหมาะสมในทางสถิติ
จัดกลุ่มพื้นที่เหมาะสมสำหรับการสร้างที่ฝังกลบขยะออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

                เหมาะสมน้อย                                     X – SD

                เหมาะสมปานกลาง                            X - SD   S  X + SD
                เหมาะสมมาก                                      X + SD
  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน Spatial Analyst Tool > Reclass  >  Reclassify
  • หน้าต่าง Reclassify กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม ok

  • เมื่อนำข้อมูล ให้คลิกคำสั่ง Classify ที่จะรูปแบบตารางสถิติ คุณลักษณะของกราฟ




การสร้างป้ายข้อมูล จากหน้า Layer Properties
  • คลิกขวาบนชั้นข้อมูลที่ต้องการปรับคุณสมบัติ



  • วีดีโอปฏิบัติการที่ 9 (Lad 9)

หมายเหตุ: เนื่องจากวีดีโอนี้มีระดับเสียงเบา ควรเพิ่มระดับเสียงในการรับชม