หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 8 การวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์ โดยนำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์มาวิเคราะห์ด้วยคำสั่งซ้อนทับอย่างง่าย ซึ่งเป็นการประกวดความรู้พื้นฐานเพื่อการวิเคราะห์ แนวทางในการดำเนินงานมีขั้นตอนหลักสำหรับการวิเคราะห์ปัญหา ดังนี้


กำหนดประเด็นปัญหา
เป็นการกำหนดประเด็นที่ต้องการหาคำตอบหรือวัตถุประสงค์ของการทำวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น
การหาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน
            กำหนดประเด็นปัญหา
1. การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทใดบ้างที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในรัศมี 500 เมตร และมีพื้นที่เท่าใด
2. การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนอยู่ในตำบล อำเภอ และจังหวัดใดบ้าง และมีพื้นที่เท่าใด

กำหนดปัจจัยหรือตัวแปรที่ใช้วิเคราะห์
เป็นการกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบคำตอบแต่ละประเด็น จะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดรายละเอียดของตัวแปรที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดรายละเอียดของตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือที่จะใช้ในการวิเคราะห์ว่ามีอะไรบ้าง

การเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์
เป็นการเตรียมรายละเอียดข้อมูลตามตัวแปรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ได้แก่ การเชื่อมต่อข้อมูล การปรับแก้และตรวจสอบข้อมูล



ขั้นตอนการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์
       นำเข้าข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์
  • สร้าง File ของตัวเองไว้ใน RTArcGIS
  • นำเข้าชั้นข้อมูล a5138i.shp  a5238iii.shp a5238iv.shp a5239iii.shp จาก C:\RTArcGIS\PASAK\results
       การต่อชั้นข้อมูลแผนที่ (Merge)
รวมข้อมูลจากหลายๆชั้นข้อมูลเข้าเป็นชั้นข้อมูลเดียวกันและกำหนดชื่อผลลัพธ์เป็น Admin
  • ดับเบิ้ลคลิกบนเมนูบาร์ Geoprocessing > Merge
  • ต่อชั้นข้อมูลแผนที่ โดยกำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK
  • รอจนกระทั่งประมวลผลเสร็จ โปรแกรมจะนำเข้าข้อมูลผลลัพธ์ให้อัตโนมัติ
  • ชั้นข้อมูล Admin จะแสดงข้อมูลประกอบด้วย 4ชั้นข้อมูลต่อกัน แล้วลบข้อมูลเก่าทิ้งไป
       นำข้อมูล Admin เชื่อมต่อกับตาราง luprv  luamp  lutam
ชั้นข้อมูล Admin นำมาเชื่อมต่อตารางที่มีข้อมูลครอบคลุมระดับจังหวัด  ตำบลและอำเภอ


  • นำเข้าข้อมูลตารางจาก C:\RTArcGIS\PASAK\Code คลิกเลือก luprv.dbf  luamp.dbf  lutam.dbf
  • เปิดดูข้อมูลตาราง Admin โดยคลิกขวาแล้วเลือก Open Attribute Table
  • เชื่อมต่อตารางโดยใช้วิธี join โดยคลิกตรงเมนูบาร์ตารางแล้วเลือกคำสั่ง Join and Relates   > Join  กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม Ok

  • เปิดตารางชั้นข้อมูล Admin โดยคลิกขวา เลือก Open Attribute Table จะได้ฟิลด์เพิ่มขึ้น ทำให้ครบข้อมูลตารางทั้ง 3 ตาราง โดยใช้วิธีนี้

การสร้างแนวกันชนเขื่อนกั้นน้ำ (Buffer)
สร้างแนวกันชนเขื่อนกั้นน้ำเป็นระยะทาง 500 เมตร และกำหนดชื่อผลลัพธ์เป็น Dam_500
  • นำเข้าข้อมูล Dam.shp จาก C:\RTArcGIS\PASAK\results
  • ดับเบิ้ลคลิกบนเมนูบาร์ Geoprocessing > Buffer
  • สร้างแนวกันชนเขื่อนกั้นน้ำ โดยกำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK

  • รอจนกระทั่งประมวลผลเสร็จ โปรแกรมจะนำเข้าข้อมูลผลลัพธ์ให้อัตโนมัติ



การตัดแนวกันชนของเขื่อนกั้นน้ำที่เกินจากขอบป่าสัก
ชั้นข้อมูล Dam_500 มีแนวกันชนเกินขอบเขตป่าสักซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตัดส่วนเกินออกด้วยชั้นข้อมูลขอบเขตตำบล Admin โดยใช้คำสั่ง Clip และกำหนดชื่อชั้นข้อมูลผลลัพธ์เป็น Admin_500

  • นำชั้นข้อมูล Dam_500 กับ Admin แล้วดับเบิ้ลคลิกบนเมนูบาร์ Geoprocessing > Cilp
  • ตัดพื้นที่ส่วนเกินออก กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK                            


การต่อชั้นข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Merge)
รวมข้อมูลจากหลายๆชั้นข้อมูลเข้าเป็นชั้นข้อมูลเดียวกันและกำหนดชื่อผลลัพธ์เป็น lu
  • นำเข้าข้อมูล l5138i.shp  l5238iii.shp l5238iv.shp l5239iii.shp จาก C:\RTArcGIS\PASAK\results
  • ดับเบิ้ลคลิกบนเมนูบาร์ Geoprocessing > Merge
  • ต่อชั้นข้อมูลแผนที่ โดยกำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK


นำข้อมูล lu เชื่อมต่อกับตาราง lucode
ชั้นข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินนำมาเชื่อมต่อตารางที่มีข้อมูลครอบคลุมระดับจังหวัด ตำบลและอำเภอ
  • นำเข้าข้อมูลตารางจาก C:\RTArcGIS\PASAK\Code คลิกเลือก luprv.dbf  luamp.dbf  lutam.dbf  lucode.dbf
  • เปิดดูข้อมูลตาราง lu โดยคลิกขวาแล้วเลือก Open Attribute Table
  • เชื่อมต่อตารางโดยใช้วิธี join โดยคลิก ตรงเมนูบาร์ตารางแล้วเลือกคำสั่ง Join and Relates > Join  กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม Ok

  • เปิดตารางชั้นข้อมูล lu โดยคลิกขวา เลือก Open Attribute Table จะได้ฟิลด์เพิ่มขึ้น


การตัดแนวกันชนของเขื่อนกั้นน้ำที่เกินจากขอบเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ชั้นข้อมูล Dam_500 มีแนวกันชนเกินขอบเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตัดส่วนเกินออกด้วยชั้นข้อมูลขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน lu  โดยใช้คำสั่ง Clip และกำหนดชื่อชั้นข้อมูลผลลัพธ์เป็น lu500
  • นำชั้นข้อมูล Dam_500 กับ lu  แล้วดับเบิ้ลคลิกบนเมนูบาร์ Geoprocessing > Cilp
  • ตัดพื้นที่ส่วนเกินออก กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK



รวมข้อมูลแนวกันชนเขตพื้นที่เขื่อนกั้นน้ำในตำบลกับข้อมูลขอบเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน ( Union )
นำชั้นข้อมูล Admin500 มา Union  ด้วยชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน lu500  และกำหนดชื่อผลลัพธ์ชื่อผลลัพธ์เป็น Final
  • นำชั้นข้อมูล Admin500 กับ lu500  แล้วดับเบิ้ลคลิกบนเมนูบาร์ Geoprocessing > Union กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK



การคำนวณค่าฟิลด์


  • เปิดตาราง Attribute โดยคลิกขวาบน Final เลือกคำสั่ง Open Attribute Table
  • หน้าต่าง Table คลิกปุ่ม Options > Add Field ตั้งชื่อฟิลด์และกำหนด Type  ดังภาพ
        
  • การคำนวณค่าฟิลด์ ให้คลิกขวาบนตาราง เลือก Calculate Geomety เป็นคำสั่งการคำนวณอัตโนมัติ กำหนดค่าและคลิกปุ่ม OK





สรุปพื้นที่เขตสร้างเขื่อนกั้นน้ำด้วยคำสั่ง Pivot Table
นำไฟล์  Final.dbf  มาวิเคราะห์ในโปรแกรม Microsoft Excel เพื่อวิเคราะห์สถิติด้วยคำสั่ง Pivot Table ซึ่งทราบว่าพื้นที่ที่มีผลกระทบจากการสร้างเขื่อนอยู่ในขอบเขตการปกครองใดบ้าง
  • เปิดโปรแกรม  Microsoft Excel และเปิดไฟล์  Final.dbf  จาก C:\RTArcGIS\Dam_V.I. เลือกไฟล์ชนิดเป็น dBase Files ( .dbf ) และคลิกปุ่มเปิด
  • คลิกเมนูแทรก และคลิกปุ่ม Pivot Table  เมื่อปรากฏหน้าต่างให้คลิกปุ่มตกลง

  • กำหนดป้ายชื่อแถวเป็น ชื่อจังหวัด อำเภอและตำบล โดยคลิกที่ชื่อฟิลด์ตามลำดับ สังเกตชื่อที่ด้านซ้ายจะแสดงชื่อจังหวัด อำเภอ และตำบล ตามลำดับด้วย


  • วีดีโอปฏิบัติการที่ 8 (Lad 8)


หมายเหตุ: เนื่องจากวีดีโอมีระดับเสียงเบา ควรเพิ่ใเสียงในการรับชม