หน้าเว็บ

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 3 การจัดการมาตราส่วนแผนที่ ( Map scale)

การจัดการมาตราส่วนแผนที่ ( Map scale)
มาตราส่วนจะบอกให้ทราบว่า 1 หน่วยบนแผนที่เท่ากับค่าที่อยู่ในช่องนี้ซึ่งเป็นหน่วยบนพื้นผิวโลก สามารถเปลี่ยนได้ โดยการคีย์ค่ามาตราส่วนที่ต้องการลงในช่อง



  • เปิดโปรแกรม ArcMap  นำเข้าชั้นข้อมูลแม่น้ำเจ้าพระยา จากโฟลเดอร์ C:\RtArcGIS\LAB11 แล้วเลือก chaopaya.shp
  • กำหนด Map scale ให้สามารถใช้งานได้ โดยคลิกที่เมนูบาร์ View > Data Frame Properties จะปรากฏหน้าต่าง Data Frame Properties คลิกแท็บ General  กำหนอหน่วยของแผนที่และแสดงผลเป็นเมตรและ      กด ok
  • ใน Map scale สามารถพิมพ์มาตราส่วนที่ต้องการใช้งานได้ โดยคลิกที่ Map scale และพิมพ์ค่ามาตราส่วนได้หลายรูปแบบและสามารถเลือกมาตราส่วนที่ต้องการแสดงในช่อง Map scale
  • การเพิ่มมาตราส่วนที่ใช้งานบ่อยๆ ให้อยู่ถาวรในรายการมาตราส่วน โดยคลิกที่ Customize This  List จะปรากฏหน้าต่าง Scale Settings
    Add คือ การเพิ่มมาตราส่วนที่พิมพ์ค่า
      Add Current คือ การเพิ่มมาตราส่วนปัจจุบันไปยังรายการ
      Delete คือ ลบมาตราส่วนที่เลือก
      Delete All คือ ลบมาตราส่วนที่เลือก
      Load คือ เรียกค่ามาตราส่วนที่บันทึกไว้ใช้งาน
      Save คือ บันทึกรายการมาตราส่วนแป้นไฟล์ .txt
      Set as Default คือ กำหนดรายการมาตราส่วนแผนที่ให้เป็นค่าเริ่มต้นของโปรแกรม
      Only display these scales when zooming คือ แสดงรายการมาตราส่วนแผนที่เหล่านี้เมื่อซูมเท่านั้น

  • เพิ่มมาตราส่วนที่ต้องการและคลิกปุ่ม Add ในรายการด้านล่างจะปรากฏมาตราส่วนเพิ่มเข้ามายังรายการและ    คลิกปุ่ม

การแปลงระบบพิกัดภูมิศาสตร์
การใช้คำสั่ง Project สำหรับแปลงข้อมูลระบบพิกัดภูมิศาสตร์ 2 แบบ คือ
        1ใช้สำหรับแปลงข้อมูลระบบพิกัดภูมิศาสตร์จากระบบหนึ่งไปเป็นอีกระบบหนึ่งได้อย่างถาวร
        2. ใช้สำหรับแปลง Zone
  • เปิดโปรแกรม Arcmap นำเข้าชั้นข้อมูล County จาก C:\RtArcGIS\LAB11 แล้วเลือก World  > Country  เปิดหน้าต่าง ArcToolBox
  • ดับเบิ้ลคลิกบน Data Management Tools > Projections and Transformations > Feature > Project
  • หน้าต่าง Project กำหนดค่าดังภาพ สำหรับช่อง Output Coordinate System ให้เลือกระบบพิกัดที่ต้องการ โดยคลิกที่ปุ่ม  จะปรากฏหน้าต่าง Spatial Reference Properties ให้คลิกปุ่มImport เลือกชั้นข้อมูล Province_WGS84UTM47N แล้วคลิกปุ่ม Add กลับมาหน้าต่าง Spatial Reference Properties จากนั้น   คลิกปุ่ม Ok



การแปลงพื้นฐาน (Datum)
  • เปิดโปรแกรม Arcmap นำเข้าชั้นข้อมูล Bangkok_Indian1975UTM47Nและ Province_WGS84UTM47N  จาก C:\RTArcGIS\LAB11 ขยายเข้าไปดูขอบเขตจะสังเกตเห็นว่าขอบของชั้นข้อมูลทั้ง 2 เกิดการเลื่อน ทำให้ทั้ง 2 ชั้นข้อมูลซ้อนทับกันไม่สนิท
  • เข้าไปที่เมนูบาร์เลือก View คลิกที่ Data Frame ในหน้าต่าง Data Frame Properties คลิกแท็บ Coordinate System
  • เลือกระบบพิกัดเป็น WGS_1984_UTM_Zone_47N โดยคลิกที่ Layers คลิก Custom คลิกบน WGS_1984_UTM_Zone_47Nและคลิกปุ่ม Apply จากนั้นคลิกปุ่ม Transformations

  • การกำหนด Datum ที่ต้องการแปลงจากอันเดิมเป็นอันใหม่ จากนั้นคลิกปุ่มNew เพื่อกำหนดค่าตัวแปร X Y Z
  • ตรวจสอบที่ช่อง Source GCS เป็นพิกัดเดิม และTarget GCS เป็นพิกัดใหม่ อีกครั้งว่าถูกต้องหรือไม่ จากนั้นใส่ค่าตัวแปรในการแปลงและคลิกปุ่ม






การเพิ่มชั้นข้อมูลแผนที่ด้วยคำสั่ง Append
เป็นการเพิ่มข้อมูลจากหลายๆชั้นข้อมูลเป็นชั้นเดียวกันกับชั้นข้อมูลเป้าหมายที่ต้องการได้หลายรูปแบบ
  • นำเข้าข้อมูล LU5038i และ LU5138iv จาก C:\RTArcGIS\LAB12\Data
  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน Data Management Tool > General > Append
  • หน้าต่าง Append  กำหนดค่าดังภาพ และคลิกปุ่ม Ok  ถ้าโครงสร้างข้อมูล Input จะต้องตรงกับข้อมูล             Target ถ้าไม่ตรงจะเกิด Error

  • รอจนกระทั่งประมวลผลเสร็จ โปรแกรมจะนำเข้าข้อมูลผลลัพธ์ให้อัตโนมัติ
  • ชั้นข้อมูล LU5038_Merge ได้รวมข้อมูลของ LU5138iv ข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงประกอบด้วยข้อมูล 2ระวาง

การลบข้อมูลด้วยคำสั่ง Erase
คำสั่ง Erase จะสร้างข้อมูลประเภท Polygon Line หรือ Point จากส่วนของข้อมูลที่อยู่ด้านนอกขอบข้อมูล Feature โดยข้อมูลที่เป็น Input  Feature จะถูกลบด้วยขอบเขตของข้อมูล Erase คล้ายกับการ Clip แต่การ Erase จะเหลือข้อมูลที่อยู่นอก Erase feature คำสั่งนี้จะใช้งานได้ที่ระดับ Advanced เท่านั้น
  • นำเข้าข้อมูล Soils และ Water จาก C:\RTArcGIS\LAB12\PathumThani.gdb
  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน Analysis Tool > Overlay > Erase
  • หน้าต่าง Erase กำหนดค่าดังภาพ และคลิกปุ่ม ok



การจัดกลุ่มข้อมูลใหม่  (Reclassify)
ข้อมูลแรสเตอร์ที่นำเข้าจะต้องมีค่าสถิติที่ถูกต้อง หากสถิติที่ไม่ถูกต้อง สามารถสร้างขึ้นโดยใช้เครื่องมือ การคำนวณสถิติ  เครื่องมือ Reclassify  มีการควบคุมความแม่นยำที่จัดการวิธีแบบทศนิยม  ถ้านำเข้าข้อมูลจากเครื่องมือที่ไม่ใช้แล้ว  พารามิเตอร์ทำการแมปในเครื่องมือ reclassify ข้อมูลที่ก่อนหน้านี้มีการเรียกใช้ และรูปแบบที่มีการตรวจสอบ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดการทำงานก่อนหน้านี้ ข้อมูลก่อนที่จะเชื่อมต่อ ตัวแปร ผลผลิตของข้อมูลเป็น input เพื่อจัดประเภทเครื่องมือหรือสามารถสร้างตาราง การจัดประเภทที่กำหนดเองโดยการเพิ่มรายการ
  • นำเข้าข้อมูล Prachindem30m จาก C:\RTArcGIS\LAB12\ Prachinburi
  • เปิด ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิกบน 3DAnalyst Tools -> Raster Reclass -> Reclassify
  • หน้าต่าง Reclassify กำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม ok


  • เมื่อนำข้อมูล ให้คลิกคำสั่ง Classify ที่จะรูปแบบตารางสถิติ คุณลักษณะของกราฟ


  • วีดีโอปฏิบัติการที่ 3 (Lad 3)

หมายเหตุ: เนื่องจากคลิปวีดีโอมีระดับเสียงเบา ควรเพิ่มระดับเสียงในการรับชม