หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตาราง

การเชื่อมตารางด้วยคำสั่ง Joins
สามารถทำงานกับข้อมูลประเภท Shapefiles , Coverages และ Geodatabase เมื่อตารางเชื่อมต่อกันแล้วสามารถใช้สอบถามข้อมูล ให้สัญลักษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้ตารางที่เชื่อมกันแล้วได้ คำสั่ง Join ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับความสัมพันธ์ระหว่างตารางแบบ One – to – One หรือ Many – to – One หากใช้กับตารางความสัมพันธ์แบบอื่น จะทำให้การเชื่อมตารางนั้นเกิดข้อผิดพลาดเพราะข้อมูลบางเรคอร์ดจะขาดหายไป การเชื่อมตารางนั้นชื่อของฟิลด์ที่นำมาเป็นสื่อในการเชื่อมไม่จำเป็นต้องชื่อเดียวกัน หากแต่จะต้องเป็นฟิลด์ประเภทเดียวกัน แล้วยังเป็นการเชื่อมชั่วคราวไม่ถาวรและเมื่อเชื่อมกันแล้วชื่อของฟิลด์ที่ปรากฏจะเปลี่ยนไป โดยจะนำหน้าและเครื่องหมายจุดตามด้วยชื่อฟิลด์

  • นำเข้าชั้นข้อมูล SOIL_GRP และ SOILCODE จาก C:\RTArcGIS\Prachinburi\SOIL_GRP
  • เปิดตารางชั้นข้อมูล SOIL_GRP โดยคลิกขวาบน SOIL_GRP เลือก Open Attribute Table และเปิดตาราง SOILCODE โดยคลิกขวา เลือก Open ทั้ง 2 ตารางจะมีฟิลด์ SOIL_ID  ที่ตรงกัน   
  • เชื่อมต่อตาราง โดยคลิกขวาบนชั้นข้อมูล SOIL_GRP  เลือก Joins and Relates > Joins
  • หน้าต่าง Join Data ให้กำหนดค่าต่างๆดังภาพ และคลิกปุ่ม Ok
  • โปรแกรมจะสอบถามว่าจะให้ใช้ฟิลด์ดังกล่าวเป็น Index หรือไม่ ให้ตอบ Yes
  • เปิดตาราง จะเห็นว่ามีฟิลด์ที่เพิ่มเติมจากตารางที่ได้ทำการ Join เกิดขึ้น
  • ถ้าต้องการเก็บข้อมูลให้คลิกขวาที่  SOIL_GRP เลือก Data และเลือก Export Data

การเชื่อมตารางด้วยคำสั่ง Relates
มีส่วนที่คล้ายกับคำสั่ง Join คือ ใช้ฟิลด์ทั้งสองตารางเป็นสื่อโดยชื่อของฟิลด์นั้นไม่เหมือนกันได้ แต่ต้องเป็นประเภทฟิลด์เดียวกัน ส่วนที่แตกต่างกัน คือ หลังจากการเชื่อมกันแล้วตารางจะไม่รวมเป็นตารางเดียวกัน แต่ตารางนั้นจะแยกจากกันเหมือนก่อนการเชื่อมกัน สำหรับการเข้าถึงข้อมูลนั้นจะทำโดยเลือกข้อมูลจากตารางหนึ่งก่อน หลังจากนั้นสั่งให้หาเรคอร์ดที่สัมพันธ์กัน คำสั่งนี้เหมาะสำหรับใช้กับตารางที่มีความสัมพันธ์แบบ One – to – many หรือ Many – to – Many
  • นำเข้าตารางหมู่บ้าน โดยเลือก Village_Relate.dbf และ AMPHOE  จาก C:\RTArcGIS\LAB05
  • คลิกขวาบนชั้นข้อมูล AMPHOE > Joins and Relates >  Relates
  • หน้าต่าง Relates  ให้สร้างความสัมพันธ์ โดยกำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK
  • แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตาราง โดยคลิกปุ่ม Table Options > Related Tables ทำการเลือกความสัมพันธ์ที่สร้างไว้


การแสดงค่าสถิติข้อมูลตาราง
ค่าสถิติที่จะแสดงได้แก่ Count , Max , Min , Sum , Mean , Standard Deviation ซึ่งสามารถแสดงเฉพาะค่าสถิติสำหรับข้อมูลที่เลือกหรือแสดงค่าสถิติสำหรับข้อมูลทั้งหมดในตาราง
  • เปิดตารางชั้นข้อมูลอำเภอ โดยคลิกเมาส์ขวาบนชั้นข้อมูล AMPHOE เลือก Open Attribute Table
  • แสดงค่าสถิติสำหรับข้อมูลอำเภอทั้งหมด โดยคลิกขวาบนฟิลด์ที่ต้องการ
  • ที่ Count จะแสดงจำนวนอำเภอทั้งหมดมี 7 อำเภอ สามารถเปลี่ยนแสดงค่าสถิติฟิลด์อื่นๆได้ โดยคลิกเปลี่ยนฟิลด์ที่ Field
  • แสดงค่าสถิติสำหรับข้อมูลอำเภอที่เลือกไว้
  • ที่ Count  จะแสดงจำนวนอำเภอที่เลือกไว้จำนวน 7 อำเภอ

การสร้างรายงาน (Creating a report)
รายงานจะช่วยให้จัดการและแสดงผลข้อมูลตารางที่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงพื้นที่ บางครั้งจำเป็นต้องพิมพ์รายงานเพื่อเผยแพร่กับข้อมูลแผนที่หรือส่งออกรายงานในรูปแบบ PDF การสร้างรายงานมีคุณสมบัติหลายอย่างที่ต้องกำหนด
  • คลิกเมนู View > Reports > Create Report
  • กำหนดชั้นข้อมูลและฟิลด์ที่ต้องการสร้างรายงาน โดยในช่อง Available Field เลือกฟิลด์ AREA , PERIMETER , AMP_NAME และ PROV_CODE
  • ฟิลด์เลือกจะย้ายไปอยู่ใน Report Fields กำหนดการจัดลำดับการแสดงผลข้อมูล โดยคลิกปุ่มลูกศรขึ้นหรือลง ให้คลิก AREA และคลิกปุ่มขึ้น เพื่อแสดงฟิลด์ชื่ออำเภอก่อน จากนั้นจึงแสดงพื้นที่
  • กำหนดระดับกลุ่ม
  • กำหนดลำดับการจัดเรียงข้อมูล คือ เรียงข้อมูลจากมากไปน้อย หรือ จากน้อยไปมาก ฟิลด์อำเภอให้เรียงลำดับอักษร โดยคลิกที่แท็บ Sorting ที่ฟิลด์ชื่ออำเภอหรือ AMP_NAME เลือก Sort เป็น Ascenbing จากนั้นคลิกปุ่ม Summary Option กำหนดดังภาพ
  • การสรุปผลข้อมูลด้วยค่าสถิติสำหรับฟิลด์ที่เป็นตัวเลข คลิกปุ่ม OKและคลิกปุ่ม Next
  • กำหนดการจัดวางรายงาน โดยให้แสดงรายงานในแนวตั้ง เลือกเป็น Portrait และคลิกปุ่ม Next
  • กำหนดรูปแบบรายงาน โดยให้ลองเลือกรูปแบบต่างๆ แล้วดูตัวอย่างที่ช่องด้านซ้าย เลือกรูปแบบตามต้องการและคลิกปุ่ม Next
  • กำหนดชื่อรายงาน โดยกำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม Finish
  • ผลลัพธ์จะได้รายงานตามเงื่อนไขที่กำหนด หากต้องการแก้ไขชื่อฟิลด์และข้อความใดๆ ให้เป็นภาษาไทย ทำได้โดยคลิกปุ่ม Edit
  • ผลลัพธ์จะได้ข้อความภาษาไทยทั้งหมด จากนั้นให้ทำการบันทึกรายงานเป็นไฟล์ถาวรเพื่อสามารถนำมาพิมพ์เผยแพร่หรือโหลดไปยังเอกสารแผนที่อื่นๆรายงานที่บันทึกนี้จะมีไฟล์นามสกุลเป็น Report Document Files (.rdf) และรายงานที่บันทึกแล้วจะไม่ลิงค์กับชั้นข้อมูลเดิม หากมีการปรับปรุงชั้นข้อมูล ไฟล์รายงานจะไม่ได้ปรับปรุงข้อมูลด้วย ให้บันทึกรายงานโดยคลิกปุ่ม Save และเลือกที่เก็บรายงานพร้อมกับตั้งชื่อรายงานที่ต้องการ
  • การเพิ่มรายงานไปใน Layout View โดยที่หน้าต่าง Report Viewer คลิกปุ่ม Add Report to ArcMap Layout  เลือกช่วงหน้ารายงานที่ต้องการเป็น All และคลิกปุ่ม OK จากนั้นปิดหน้าต่าง Report Viewer
  • แสดงผล Layout โดยคลิกเมนู View เลือก Layout View  ถ้าจะนำกราฟหรือรูปภาพมาใส่ ไปเลือกที่เมนูบาร์ Inset > Picture



  • วีดีโอปฏิบัติการที่ 2 (Lad 2)
หมายเหตุ: เนื่องจากวีดีโอมีระดับเสียงเบา ควรเพิ่มระดับเสียงในการรับชม