หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 1 การแก้ไขข้อมูล (Editing Feature)

การกำหนด Snapping Properties
ควบคุมการแก้ไขส่วนที่เชื่อมต่อกัน โดยกำหนดส่วนของข้อมูลที่จะเชื่อมต่อใหม่นี้ให้ Snap กับส่วนใดของข้อมูลเดิม  คุณสมบัติการ Snap ของชั้นข้อมูลสามารถกำหนด Snap ภายในชั้นข้อมูลเดียวกัน

  • สร้างโฟลเดอร์และสร้าง Shapefile จุด เส้นและโพลิกอน คลิกขวาที่โฟลเดอร์เลือก New และสร้าง Shapefile  ไว้ที่ C:\RTArcGIS

  • เปิดแถบเครื่องมือ โดยคลิก Editor แล้วเริ่ม Start Editing
  • เปิดเครื่องมือ Snapping  ไปคลิกทางขวาโล่งๆตรงเมนูบาร์


การแก้ไขจุด เส้นและโพลิกอน
การแก้ไขจุด เส้นและโพลิกอน เช่น การเพิ่ม  ลบ หรือย้าย จุด สามารถทำได้ โดยใช้แถบเครื่องมือ Edit Vertices ซึ่งจะเข้าถึงเครื่องมือได้ง่ายและสะดวกขึ้น รวมถึงสามารถใช้เมนูลัด โดยคลิกขวาบนเส้นโครงร่างของข้อมูลเลือกคำสั่งที่ต้องการ

การย้าย
เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือรูปร่างของฟีเจอร์ ด้วยปุ่ม Edit tool 
  • คลิก Editor เลือก Start Editing
  • คลิกปุ่ม Edit tool บนแถบเครื่องมือ Editor และคลิกบนข้อมูลที่ต้องการแก้ไขรูปร่างเพื่อเลือกข้อมูล
  • คลิกปุ่ม Edit Verticesหรือดับเบิ้ลคลิกบนข้อมูลที่ต้องการ จะปรากฏข้อมูล จากนั้นคลิกข้อมูลย้ายข้อมูลนั้นไปตำแหน่งใหม่
การเพิ่ม
  • คลิก Editor เลือก Start Editing
  • คลิกปุ่ม Edit tool บนแถบเครื่องมือ Editor และคลิกบนข้อมูลที่ต้องการแก้ไขรูปร่างเพื่อเลือกข้อมูล
  • คลิกปุ่ม Edit Verticesหรือดับเบิ้ลคลิกบนข้อมูลที่ต้องการ จะปรากฏข้อมูล จากนั้นคลิก Add และคลิกตำแหน่งที่ต้องการเพิ่มข้อมูล สามารถคลิกเพิ่มได้อย่างต่อเนื่องเท่าที่ต้องการ

การลบ
  • คลิกปุ่ม Edit tool บนแถบเครื่องมือ Editor และคลิกบนข้อมูลที่ต้องการแก้ไขรูปร่างเพื่อเลือกข้อมูล
  • คลิกปุ่ม Edit Verticesหรือดับเบิ้ลคลิกบนข้อมูลที่ต้องการ จะปรากฏข้อมูล จากนั้นคลิก Delete และคลิกบนข้อมูลที่ต้องการลบ หรือลากเป็นกรอบเพื่อลบหลายๆข้อมูลพร้อมกัน


การขยายเส้น  (Extend)
ใช้สำหรับยืดขยายเส้นออกไปจนกระทั่งถึงอีกเส้นภายในระยะที่กำหนด สามารถกำหนดเส้นที่ต้องการแก้ไขโดยการเลือกเส้นที่ต้องการหรือถ้าไม่ได้เลือกเส้นไว้ในโปรแกรมจะทำการแก้ไขทุกเส้น
  • ดับเบิ้ลคลิกเส้นต้องการให้ขึ้นเป็นสีฟ้า แล้วลากไปซ้ายไปขวา หรือขยายให้ยาวหรือสั้นตามต้องการ


การตัดเส้นตามเงื่อนไขที่กำหนดด้วยคำสั่ง Splitting line
ใช้สำหรับตัดเส้นที่เลือกจากจุดเริ่มต้นหรือจุดปลายของเส้น โดยกำหนดเงื่อนไขในการตัด ได้แก่ การกำหนดค่าระยะทางหรือเปอร์เซ็นต์ความยาวรวมของเส้น หรือตัดเป็นส่วนเท่าๆกันตามจำนวนที่กำหนด คำสั่งนี้จะไม่ทำงานหากไม่ได้เลือกเส้น 1 เส้น  ลูกศรที่ปรากฏบนเส้นจะแสดงทิศทางของเส้น ดังนั้นจึงสามารถเลือกได้ว่าต้องการตัดจากจุดเริ่มต้นหรือจุดปลายของเส้น
  • วาดเส้นถนนดังภาพ
  • คลิกปุ่ม Edit tool บนเครื่องมือ Editorและคลิกบนเส้นที่ต้องการแก้ไข
  • คลิก Editor เลือกคำสั่ง Split กำหนดเงื่อนไขในการตัดและคลิกปุ่ม OK

การตัดรูปปิดด้วยเครื่องมือ Cut Poloygons
การตัดรูปปิดเป็นการแบ่งข้อมูลออกส่วนๆ ด้วยคำสั่ง Cut Polygon โดยวาดเส้นให้ตัดผ่านรูปปิด ซึ่งการวาดเส้นนี้จำเป็นต้องวาดให้ผ่านรูปปิดที่เลือกอย่างสมบูรณ์ อาจใช้ Snapping ที่ขอบ เพื่อให้มั่นใจว่าวาดผ่านขอบรูปปิดอย่างสมบูรณ์ การตัดจะทำการปรับปรุงรูปร่างของข้อมูลเดิมและสร้างเป็นข้อมูลใหม่โดยใช้
ค่า Attribute เดิม
  • คลิกปุ่ม Edit tool บนเครื่องมือ Editorและคลิกบนรูปปิดที่ต้องการตัด
  • คลิกปุ่ม Cut Polygon บนเครื่องมือ Editor
  • การตัดรูปปิดตามตำแหน่งที่คลิกวาดเป็นเส้น โดยลากเส้นให้ผ่านตำแหน่งที่ต้องการตัดอย่างน้อย 2 จุด


การปรับเส้นเป็นรูปร่างใหม่กับการปรับแก้รูปร่างข้อมูลรูปปิด ( Rrshape Feature)
การปรับเส้นใช้สำหรับเปลี่ยนรูปร่างของเส้น โดยการวาดทับเส้นที่เลือก ข้อมูลจะปรับรูปร่างจากการวาด ณ ตำแหน่งแรกที่คลิกหรือซ้อนทับถึงจุดสุดท้ายที่คลิกหรือซ้อนทับบนเส้น
  • คลิกปุ่ม Edit tool บนเครื่องมือ Editorและคลิกบนเส้นที่ต้องการแก้ไขรูปร่าง
  • คลิกปุ่ม Reshape Feature tool บนเครื่องมือ Editor และสร้างรูปร่างใหม่ที่ต้องการซึ่งสามารถเลือกเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนรูปร่าง
  • หยุดการแก้ไขโดยดับเบิ้ลคลิก

การปรับแก้รูปร่างใช้สำหรับแก้ไขรูปร่างของรูปปิด โดยการวาดรูปร่างใหม่ทับข้อมูลที่เลือก ข้อมูลรูปปิดจะปรับรูปร่างจากการวาด ณ ตำแหน่งแรกที่คลิกหรือซ้อนทับ ถึงจุดสุดท้ายที่คลิกหรือซ้อนทับบนขอบรูปปิด
  • คลิกปุ่ม Edit tool บนเครื่องมือ Editorและคลิกบนรูปปิดที่ต้องการแก้ไขรูปร่าง
  • คลิกปุ่ม Reshape Feature Tool บนแถบเครื่องมือ Editor และสร้างรูปร่างใหม่ที่ต้องการซึ่งสามารถเลือกเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนรูปร่าง
  • หยุดการแก้ไขโดยดับเบิ้ลคลิก



เครื่องมือสำหรับการสร้างรูปปิดเพิ่มโดยใช้ขอบร่วมกัน (Auto Complete Polygon)
เป็นการสร้างรูปปิดเพิ่มขึ้น โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งร่วมกับรูปปิดที่ต้องการ ทั้งนี้พื้นที่บริเวณที่ใช้ขอบร่วมกันจะต่อกันสนิท โดยที่ไม่ต้องคลิกสร้าง เพื่อลดปัญหาการไม่ติดกันของด้านหรือการเกิดช่องว่าง
  • คลิกปุ่ม Editor เลือก Start Editing
  • สร้างรูปปิด โดยคลิก Feature Template เลือกข้อมูลและเครื่องมือที่ Construction Tool ให้คลิก Auto Complete Polygon
  • คลิกบนขอบหรือคลิกเข้าไปในรูปปิดเพื่อเริ่มสร้าง จากนั้นคลิกตำแหน่งถัดไปที่ต้องการสร้าง เมื่อสร้างไปจนครบรอบแล้ว จุดสุดท้ายให้คลิกบนขอบหรือคลิกเข้าไปด้านในรูปปิดและดับเบิ้ลคลิกเพื่อหยุดการสร้าง


  • วีดีโอปฏิบัติการที่ 1 (Lad 1)
หมายเหตุ: เนื่องจากวีดีโอมีระดับเสียงเบา ควรเพิ่มระดับเสียงในการรับชม