การประมาณค่าช่วงเป็นการคาดการณ์ค่าให้กับเซลล์ในข้อมูลประเภทแรสเตอร์
จากข้อมูลจุดตัวอย่างที่มีอยู่อย่างจำกัด ด้วยวิธีการนี้สามารถใช้ในการพยากรณ์ค่าที่ไม่ทราบจากจุดใดๆ
ทางภูมิศาสตร์ได้ ไม่ว่าจะเป็นจุดความสูง ปริมาณน้ำฝน การกระจายตัวของสารเคมี
ระดับเสียงรบกวน และอื่นๆ
เป็นการประมาณค่าโดยทำการสุ่มจุดตัวอย่างแต่ละจุดจากตำแหน่งที่สามารถส่งผลกระทบไปยังเซลล์ที่ต้องประมาณค่าได้
ซึ่งจะมีผลกระทบไปยังเซลล์ที่ต้องประมาณค่าได้ ซึ่งจะมีผลกระทบน้อยลงเรื่อยๆตามระยะทางที่ไกลออกไป เหมาะกับตัวแปรที่อ้างอิงกับระยะทางในการคำนวณ
ยิ่งใกล้ยิ่งมีอิทธิพลมาก เช่น ความดังของเสียง ความเข็มข้นของสารเคมี
- นำเข้าข้อมูล STOP จาก C:\RTArcGIS\KANCHNABURI\Kanburi
- เปิดหน้าต่าง ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิก Spatial Analyst Tools > Interpolation > IDW
- หน้าต่าง IDW กำหนดการประมาณค่าแอมโมเนีย ดังภาพ
- กำหนดขอบเขตผลลัพธ์การประมาณค่าในช่วงให้มีขอบเขตตามชั้นข้อมูลพื้นที่ศึกษา โดยคลิกปุ่ม Environments คลิก Raster Analysis กับ Processing Extent กำหนดเงื่อนไขต่างๆ และคลิกปุ่ม OK
การประมาณค่าในรูปแบบ Natural Neighbors
การสร้าง Subset ที่อยู่ใกล้จุดตัวอย่างมากที่สุด
จากนั้นจะทำการแทรกค่าโดยค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามขนาดของพื้นที่ของข้อมูลจุดตัวอย่าง
เหมาะกับจุดตัวอย่างที่มีการกระจายตัวแบบไม่แน่นอน
- ดับเบิ้ลคลิก Spatil Analyst Tool > Interpolation > Natural Neignbor
- หน้าต่าง Natural Neighbors กำหนดการประมาณค่า ดังภาพและคลิกปุ่ม Ok
เป็นวิธีการแทรกค่าให้พอดีกับพื้นผิวที่มีความโค้งเว้าอย่างน้อยตามจุดข้อมูลตัวอย่างที่นำเข้ามาเหมือนการบิดงอของแผ่นยางผ่านจุดตัวอย่าง โดยพยายามให้อย่างน้อยความโค้งทั้งหมดเข้าหาจุดตัวอย่างเหล่านั้นมาเป็นพื้นผิว วิธีนี้เป็นการนำสมการทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการคำนวณเหมาะกับพื้นผิวที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ความสูงและความลึกของพื้นน้ำ เป็นต้น
- หน้าต่าง ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิก Spatial Analyst Tools > Interpolation > Spline
- หน้าต่าง Spline กำหนดการประมาณค่า ดังภาพและคลิกปุ่ม Ok
- วิธี Spline มี 2 แบบ ได้แก่
Tension spline เป็นเทคนิคที่มีการควบคุมความแข็งกระด้างของพื้นผิวให้เป็นไปตามลักษณะของปรากฏการณ์
โดยผลลัพธ์ที่ได้มีความเรียบน้อยกว่าแบบ Regularized
การประมาณค่าในรูปแบบ Kriging
เป็นวิธีการประมาณค่าช่วงขั้นสูง โดยการใช้กระบวนการทางสถิติและสมการคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์
วิธีนี้จะทำสมการคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับจุดตัวอย่างที่เลือกไว้
ภายในรัศมีที่กำหนดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในแต่ละพื้นที่ออกมา การใช้วิธีนี้
ควรรู้ระยะทางที่สัมพันธ์ทางพื้นหรือทิศทางเอนเอียงในข้อมูล
- หน้าต่าง ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิก Spatial Analyst Tools > Interpolation > Kriging
- หน้าต่าง Kriging กำหนดค่าและคลิกปุ่ม OK
การประมาณค่าในรูปแบบ Trend
วิธีนี้จะทำการเลือกสมการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม โดยการระบุลำดับของพีชคณิตให้กับจุดตัวอย่างทั้งหมด ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นพื้นผิวที่มีความแปรปรวนต่ำ สัมพันธ์กับจุดอย่างและต่อเนื่องตามแนวโน้มข้อมูล ในบางกรณี พื้นที่ไม่ได้เป็นลักษณะของพื้นราบเสมอไป เช่น บริเวณที่เป็นหุบเขา เมื่อใช้วิธีนี้ในการประมาณค่าช่วง จึงต้องมีการคำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ใหม่ให้สอดคล้องกับลักษณะของพื้นผิวที่โค้ง
- หน้าต่าง ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิก Spatial Analyst Tools > Interpolation > Trend
- หน้าต่างTrend กำหนดค่าและคลิกปุ่ม OK
- พื้นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ จะใช้สมการพีชคณิตแบบเส้นตรง ( Linear polynomial )
- พื้นที่มีความโค้งหนึ่งแห่ง จะใช้สมการพีชคณิตแบบกำลังสอง (Quadratic polynomial)
พื้นที่มีความโค้งสองแห่ง
จะใช้สมการพีชคณิตแบบกำลังสาม (Cubic polynomial)
การประมาณค่าในรูปแบบ Topo
to Raster
ใช้สำหรับจำลองพื้นผิวโลกที่สามารถกำหนดได้หลายตัวแปรในการสร้าง Digital Elevation Model เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พื้นผิวได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการวิเคราะห์ SLOPE ASPECTและHILLSHADE ในขั้นตอนถัดไป
ข้อมูลนำเข้า เป็นชุดของข้อมูลที่จะนำมาใช้สร้าง DEM ประกอบไปด้วย
Feature Layer เป็นชุดของข้อมูลนำเข้าหลักๆคือ
Point Elevation ชั้นข้อมูลที่เป็นจุดและแสดงความสูงของพื้นที่
Contour เป็นชั้นข้อมูลที่นำเสนอในรูปของเส้นความสูงเท่าของพื้นที่ ในการกำหนดค่าให้เลือกฟิลด์ที่บันทึกค่าความสูงของเส้นและType เป็น Contour
Stream เป็นชั้นข้อมูลที่แม่น้ำ ไม่มีการกำหนดค่าฟิลด์
Sink เป็นชั้นข้อมูลที่นำเสนอในรูปของจุดที่แสดงถึงลักษณะการกดต่ำหรือเป็นรอยบุ๋มของพื้นที่ในสภาพภูมิประเทศจริง
Boundary เป็นชั้นข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลในรูปของพื้นที่รูปปิด ในที่นี้อาจเป็นชั้นข้อมูลขอบเขตการปกครอง เพื่อนำมาใช้แสดงขอบเขตของผลลัพธ์เท่านั้น
Lake เป็นชั้นข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลในรูปของพื้นที่ปิด ซึ่งสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งน้ำบนพื้นผิวได้
- Field ใช้ในการกำหนดหรือเลือกฟิลด์ที่บันทึกข้อมูลที่เหมาะสมกับประเภทของชั้นข้อมูลที่ต้องการจะสร้างDEM
- Type ประเภทของชุดข้อมูลที่นำเข้าเพื่อนำมาใช้ในการสร้าง DEM
COUTOUR กำหนด Type เป็น Contour และเลือก Field เป็น Elevation
STREAM กำหนด Type เป็น STREAM และไม่ต้องกำหนดไฟล์
PROVINCE กำหนด Type เป็น Boundary และไม่ต้องกำหนดไฟล์
การสร้างพื้นผิวในรูปแบบ TIN
โครงข่ายสามเหลี่ยมหรือ TIN เป็นโครงสร้างข้อมูลเวกเตอร์ที่เก็บและแสดงแบบจำลองพื้นผิว TIN จะประกอบด้วย Node จำนวนมาก ซึ่งเก็บค่า Z เอาไว้ แต่ละ Node จะเชื่อมต่อด้วยเส้น เรียกว่า Edge จะต่อเนื่องกันและสามารถใช้ระบุตำแหน่งของข้อมูลที่ต้องการได้ มีหน่วยเป็นฟุตหรือเมตร แต่ไม่ใช้หน่วยเป็นองศา สามารถเก็บข้อมูลที่มีรายละเอียดสูงได้
หมายเหตุ: เนื่องจากวีดีโอนี้มีระดับเสียงเบา ควรเพิ่มระดับเสียงในการรับชม
ใช้สำหรับจำลองพื้นผิวโลกที่สามารถกำหนดได้หลายตัวแปรในการสร้าง Digital Elevation Model เพื่อใช้ในการวิเคราะห์พื้นผิวได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการวิเคราะห์ SLOPE ASPECTและHILLSHADE ในขั้นตอนถัดไป
ข้อมูลนำเข้า เป็นชุดของข้อมูลที่จะนำมาใช้สร้าง DEM ประกอบไปด้วย
Feature Layer เป็นชุดของข้อมูลนำเข้าหลักๆคือ
Point Elevation ชั้นข้อมูลที่เป็นจุดและแสดงความสูงของพื้นที่
Contour เป็นชั้นข้อมูลที่นำเสนอในรูปของเส้นความสูงเท่าของพื้นที่ ในการกำหนดค่าให้เลือกฟิลด์ที่บันทึกค่าความสูงของเส้นและType เป็น Contour
Stream เป็นชั้นข้อมูลที่แม่น้ำ ไม่มีการกำหนดค่าฟิลด์
Sink เป็นชั้นข้อมูลที่นำเสนอในรูปของจุดที่แสดงถึงลักษณะการกดต่ำหรือเป็นรอยบุ๋มของพื้นที่ในสภาพภูมิประเทศจริง
Boundary เป็นชั้นข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลในรูปของพื้นที่รูปปิด ในที่นี้อาจเป็นชั้นข้อมูลขอบเขตการปกครอง เพื่อนำมาใช้แสดงขอบเขตของผลลัพธ์เท่านั้น
Lake เป็นชั้นข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลในรูปของพื้นที่ปิด ซึ่งสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งของแหล่งน้ำบนพื้นผิวได้
- Field ใช้ในการกำหนดหรือเลือกฟิลด์ที่บันทึกข้อมูลที่เหมาะสมกับประเภทของชั้นข้อมูลที่ต้องการจะสร้างDEM
- Type ประเภทของชุดข้อมูลที่นำเข้าเพื่อนำมาใช้ในการสร้าง DEM
- นำเข้าชั้นข้อมูล STOP CONTOUR STREAM และ PROVINCE จาก C:\RTArcGis\LAB15\Kanburi
- หน้าต่าง ArcToolbox ดับเบิ้ลคลิก Spatial Analyst Tools > Interpolation > Topo to Raster
- ใน TOC ให้คลิกเลือกข้อมูลทั้ง 4 ชั้นข้อมูลและลากเข้ามาในหน้าต่าง จากนั้นกำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK
COUTOUR กำหนด Type เป็น Contour และเลือก Field เป็น Elevation
STREAM กำหนด Type เป็น STREAM และไม่ต้องกำหนดไฟล์
PROVINCE กำหนด Type เป็น Boundary และไม่ต้องกำหนดไฟล์
- คลิกปุ่ม Identify เพื่อดูค่าความสูง ของแต่ละจุดในจังหวัด
การสร้างพื้นผิวในรูปแบบ TIN
โครงข่ายสามเหลี่ยมหรือ TIN เป็นโครงสร้างข้อมูลเวกเตอร์ที่เก็บและแสดงแบบจำลองพื้นผิว TIN จะประกอบด้วย Node จำนวนมาก ซึ่งเก็บค่า Z เอาไว้ แต่ละ Node จะเชื่อมต่อด้วยเส้น เรียกว่า Edge จะต่อเนื่องกันและสามารถใช้ระบุตำแหน่งของข้อมูลที่ต้องการได้ มีหน่วยเป็นฟุตหรือเมตร แต่ไม่ใช้หน่วยเป็นองศา สามารถเก็บข้อมูลที่มีรายละเอียดสูงได้
- นำเข้าชั้นข้อมูล STOP CONTOUR STREAM และ PROVINCE จาก C:\RTArcGIS\LAN15\Kanburi
- ทำการสร้าง TIN โดยดับเบิ้ลคลิกบน Create TIN
- ใน TOC ให้คลิกเลือกข้อมูลทั้ง 4 ชั้นข้อมูลและลากเข้ามาในหน้าต่าง จากนั้นกำหนดค่าดังภาพและคลิกปุ่ม OK
- จะได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูล TIN ที่แสดงความสูงของพื้นที่ ตามขอบเขตจังหวัดที่ใช้เป็นขอบเขตในการสร้างข้อมูล
- แก้ไขสัญลักษณ์ โดยใน TOC ดับเบิ้ลคลิกบนชั้นข้อมูล Tin จากนั้นคลิกแท็บ Symbology คลิกเครื่องหมายถูกหน้า Edge Types ออก เพื่อไม่แสดงสัญลักษณ์เส้น และคลิกปุ่ม OK
- วีดีโอปฏิบัติการที่ 5 (Lad 5)